วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เกี่ยวกับเว็บบล็อก healthmenisit


สวัสดี! ทุกๆท่านที่แวะมาเยี่ยมชมและหาความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกับเว็บบล็อก healthmenisit ของเราโดยเนื้อหาที่เรานำเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอรายงานในรายวิชา ยากับชีวิตประจำวัน (Drug Daily Life) รหัสวิชา 3010101 ซึ่งเป็นหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยเนื้อหาที่เราจะนำเสนอนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของสุภาพสตรี ได้แก่ "ยาแก้ปวดกับการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน" ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตสุภาพสตรีหลายๆท่านอย่างแน่นอนในแง่ของการเลือกและวิธีการใช้ยาแก้ปวดประจำเดือนอย่างเหมาะสมที่สุด

ทั้งนี้การรวบรวมข้อมูลและจัดทำเนื้อหาเป็นการดำเนินการโดยนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาในรายวิชา ยากับชีวิตประจำวัน (Drug Daily Life) ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ซึ่งมาจากคณะต่างๆรวมกลุ่มกันจัดทำเว็บบล็อกนี้ขึ้นมา ได้แก่

1. นางสาวณัฐสินี ภูผานี คณะสหเวชศาสตร์
2. นายชัยวัฒน์ บุญศิริพิทักษ์กุล คณะสหเวชศาสตร์
3. นางสาวสุฑาทิพย์ ภู่รอด คณะสหเวชศาสตร์
4. นางสาวภัทรวดี แซ่ล้อ คณะสหเวชศาสตร์
5. นางสาวธนพร สุวรรณวรบุญ คณะสหเวชศาสตร์
6. นางสาวภาวินี อมรประยูร คณะสหเวชศาสตร์
7. นางสาวสุภิญญา อัครเมธีนนท์ คณะสหเวชศาสตร์
8. นางสาวศุภรพรรณ สถิรวงศ์วรรณ คณะนิติศาสตร์
9. นางสาวกชกร จงเกริกเกียรติ คณะจิตวิทยา
10. นางสาวพรรณปพร จรูญจิตร คณะจิตวิทยา

ซึ่งพวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาความรู้จากเว็บบล็อก healthmenisit ของเราจะเป็นประโยชน์สำหรับชีวิตประจำวันของใครหลายๆคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสุภาพสตรี...

ยาแก้ปวดกับการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน



อาการปวดระดูหรืออาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrheal) เป็นอาการปวดท้องน้อยที่มีความสัมพันธ์กับการมีระดูหรือการมีประจำเดือน พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์  ร้อยละ 45-95 ต้องเคยมีอาการปวดดังกล่าว  มีรายงานในวัยรุ่นไทยพบว่าร้อยละ 84  มีอาการปวดเมื่อมีระดู และร้อยละ 20 มีอาการปวดรุนแรง จนทำให้ต้องขาดเรียน  อาการปวดระดูอาจจะมีโรคที่เป็นสาเหตุหรือไม่ก็ได้  โดยหลักในการดูแลรักษาประกอบด้วยการรักษาอาการปวด  และตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุเพื่อให้การรักษาจำเพาะโรค

กลุ่มยารักษาอาการปวดประจำเดือน


สำหรับการรักษาอาการปวดที่นิยมมากที่สุด คือ การรับประทานยาแก้ปวด ซึ่งยาแก้ปวดที่นำมาใช้รักษาอาการปวดระดูหรืออาการปวดประจำเดือน มี 3 กลุ่มคือ
1. ยาต้าน prostaglandins (prostaglandin synthetase inhibitors)

1.1  Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)  เช่น  mefenamic acid,     

Ibuprofen, naproxen เป็นต้น

1.2  ยาในกลุ่ม  cyclooxygenase 2 (COX  2)  inhibitors เช่น  rofecoxib, celecoxib  etoricoxib, valdecoxib , lumiracoxib เป็นต้น 

2.      Acetaminophen  หรือ  paracetamol

3.      ยาในกลุ่ม  opioids เช่น  codeine, pentazocine, tramadol, pethidine  เป็นต้น

เนื่องจากการเกิดอาการปวดประจำเดือนเกิดจากผนังมดลูกมีการสร้างสารที่ชื่อว่าโพรสตาแกลนติน(Prostaglandins) มากเกินไป ดังนั้นยาที่นำมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ดีที่สุด จึงเป็นกลุ่ม1โดยเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารนี้ ยากลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่ายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ NSAIDs(Non-steroidal anti-inflammatory drugs) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ประกอบด้วย

1. ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

1. ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)



ชื่อการค้าที่มีจำหน่าย เช่น
-     จูนิเฟน (Junifen)
-      แอกต์-3 (Act-3)
-      แอดวิล (Advil)
-      บรูเฟน (Brufen)
-      โมตริน (Motrin)
-       นูปริน (Nuprin)
-       นูโรเฟน (Nurofen)


รูปแบบยาที่มีจำหน่าย
-      ยาน้ำแขวนตะกอน ความแรง 100 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร (1 ช้อนชา) 
-      ยาเม็ด ขนาด 200, 400 และ 600 มิลลิกรัม


กลไกการออกฤทธ์
ไอบูโปรเฟนเป็นเอ็นเซดที่เชื่อกันว่ามันมีฤทธ์ยับยั้งเอ็นไซม์ไซโคลออกซีจีเนส (COX) เป็นผลให้เกิดการยับยั้งการสังเคราะห์โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin)
Junifen ชนิดน้ำ

ยานี้มีวิธีการใช้อย่างไร
       การแก้ปวด 
-    รับประทานครั้งละ 200-400 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่เกินวันละ 1.2 กรัม 

ถ้าลืมรับประทานยานี้ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่หากเมื่อได้ใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ไม่ต้องรับประทานยาที่ลืมนั้น  ให้รับประทานยาตามปกติโดยไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยานี้มีอะไรบ้าง  
อาการข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ มึนงง เมื่อยล้า ผื่นคันตามผิวหนัง ลมพิษ ปวดเกร็งในช่องท้อง ปวดแสบยอดอก อาหารไม่ย่อยหรือมีอาการคลื่นไส้ 

ยานี้มีข้อควรระวังอย่างไร
-     ก่อนจะใช้ยานี้ควรบอกแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin), แอสไพริน (Aspirin) และยาโรคข้ออักเสบอื่นๆ 
-      หากมีประวัติเป็นโรคกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ มีเลือดออกในกระเพาะหรือทางทวารหนัก โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหอบหืด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ 
-       คนชรา หญิงมีครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ 
-       หากมีปัญหาในการใช้ยาแอสไพริน หรือยาโรคข้ออักเสบ ไม่ควรใช้ยานี้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร 
-       ไม่ควรใช้แอสไพริน หรือ พาราเซตามอล (Paracetamol) ร่วมกับยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยกเว้นในกรณีที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรให้ใช้

Junifen ชนิดเม็ด
คำแนะนำพิเศษในการใช้ยานี้
-       ไม่ควรใช้ยานี้เกินขนาดที่ระบุไว้ในฉลากยา 
-        หากต้องการเพิ่มขนาดของการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน 
-        งดเครื่องดื่มพวกแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ 
-        รับประทานยานี้พร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที

พอนสแตน

2. พอนสแตน ชนิดเม็ด 500 มก (Ponstan tab 500 mg)
                            
จัดเป็นยาที่ได้รับความนิยมในการรับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือนตัวหนึ่ง  ส่วนประกอบสำคัญของยา (Active Ingredients) ประกอบด้วย Mefenamic acid : 500 mg


กลไกการออกฤทธิ์ (Action) :
พอนสแตน  (เมเฟนามิค  แอซิด) เป็นยาบรรเทาปวด  ลดการอักเสบที่ออกฤทธิ์โดยการไปสกัดกั้นสาร Prostaglandins

ขนาดการใช้ยา (Dosage) : ผู้ใหญ่  รับประทานครั้งละ  500 มก. (2 แคปซูลหรือ 1 เม็ด)  วันละ 3 ครั้ง  เมื่อเริ่มมีอาการหรือตามแพทย์สั่ง

ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้ (Precaution & Adverse Effects) : ห้ามใช้พอนสแตนในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้

ขนาดของบรรจุภัณฑ์ (Packages) : กล่องละ 25 แผงๆละ 10 เม็ด

นาพรอกเซน

3. Naproxen (นาพรอกเซน)

เป็นยาระงับอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์บรรเทาอาการปวดประจำเดือน และอาการการปวดบวมเนื่องจากอาการอักเสบของข้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อเสื่อม รวมถึงอาการปวดจากโรคเก๊าท์เฉียบพลัน ปวดจากมะเร็ง ปวดศีรษะ อาการปวดหลังการผ่าตัด หลังถอนฟัน และหลังคลอดบุตร

ชื่อการค้า :
Annoxen,Artagen,Flexin,Naprosian,Naproso,Naprosyn,Napxen,Narzen,Polyxen,Proxen,Roxen,
Serviproxan,Soproxen,Synflex,Synogin,-Proxyl,Vinsen

ผลข้างเคียงของยาที่พบบ่อย
อาการไม่สบายในท้อง ,คลื่นไส้, ปวดศีรษะ, บวมเล็กน้อยตามมือหรือเท้า, เสียงก้องในหู, การทรงตัวผิดปกติ อาการอื่นที่อาจเกิดคือ ผมร่วง, บวมน้ำ, โลหิตจางซีด, ตับอักเสบ, เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้, นอนไม่หลับ หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นควรปรึกษาแพทย์  

คำแนะนำระหว่างที่ใช้ยานี้ :
 1.
ไม่ควรใช้นาพรอกเซนกับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารระยะกำเริบ ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ควรใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดและควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้สูงอายุหรือมีสุขภาพอ่อนแอ
2. มีผลต่อสมองส่วนที่ทำให้ตื่นตัว จึงควรระมัดระวังหากต้องขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักร
3. บอกแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาเหล่านี้ที่ใช้ร่วมกันอยู่ เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาได้ เช่น ยาลดการแข็งตัวของเลือด (วาร์ฟาริน), แอสไพริน, ยารักษาข้ออักเสบตัวอื่น, เมโธเทรกเซต, โพรเบเนสิด และยาขับปัสสาวะ รวมทั้งบอกเกี่ยวกับโรคต่อไปนี้ที่เคยเป็นหรือเป็นอยู่ในขณะนี้ได้แก่ กระเพาะอาหารอักเสบ มีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้, มีแผลในกระเพาะ หอบหืด โรคไต โรคตับ โรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
4. ไม่ควรใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตร
5. ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์
6. รับประทานยานี้หลังอาหารทันที

เมื่อคุณลืมกินยา ปฏิบัติเช่นเดียวกับการลืมรับประทานไอบูโพรเฟนดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

พาราเซตามอล


4.พาราเซตามอล

เป็นยาที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ หรือที่เรียกว่ายาสามัญประจำบ้านนั่นเอง จัดเป็นยาที่ได้รับความนิยมในการรับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือนตัวหนึ่งเช่นเดียวกับพอนสแตน

ชื่อสามัญ Acetaminophen

กลไกการออกฤทธิ์
มีฤทธิ์ระงับปวดในระดับความรุนแรงต่ำหรือปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ฯลฯ แต่ไม่มีผลในการรักษาความเจ็บปวดรุนแรงและมีฤทธิ์ในการลดการสังเคราะห์ Prostaglandin E

ขนาดและวิถีทางที่ให้ : ผู้ใหญ่หรือเด็กอายุเกิน 12 ปี
ชนิด : ยาเม็ด ยาน้ำเชื่อม แคปซูล
ขนาด : 325-1000 มก.ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 4 กรัมต่อวัน หรือหากกินยานานๆ ไม่ควรเกิน 2-6 กรัมต่อวัน เริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีระดับยาสูงสุดในกระแสเลือด 10-60 นาทีออกฤทธิ์นาน 3-4 ชั่วโมง
ชนิด : เหน็บทางทวารหนัก
ขนาด : 325-650 มก. ทุก 4 ชั่วโมง เริ่มออกฤทธิ์ 30 นาที -1 ชั่วโมงระดับยาสูงสุดในกระแสเลือด 1-3 ชั่วโมงออกฤทธิ์นาน 3-4 ชั่วโมง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา พบน้อยมากในขนาดรักษาที่ระบุไว้ แต่หากแพ้ยาจะพบผื่นขึ้นที่ผิวหนัง มีไข้ ในการรับประทานขนาดยาสูงๆ อาจเกิดการทำลายของตับในทารกและทำลายไตได้

ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง
1. ผู้ป่วยโรคตับ
2. ผู้ที่ขาดเอนไซม์ G-6-PD

บทสรุปของการใช้ยาแก้ปวดประจำเดือน



ในปัจจุบันยังไม่พบความแตกต่างของประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดประจำเดือนของยาต้าน 
prostaglandins  ชนิดต่างๆไม่ว่าจะเป็น  NSAIDs  หรือ  COX 2  inhibitors  แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ายาต้าน  prostaglandins  ทุกตัวมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน  (equivalent  effect)  เนื่องจากงานวิจัยที่มีอยู่ยังมี  power  ไม่เพียงพอ  ส่วนผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังจนต้องใช้ยาแก้ปวดทุกวันควรจะได้รับการประเมินสาเหตุ  และให้การรักษาอื่นร่วมด้วย เนื่องจากการวิจัยพบว่าการใช้ COX 2 inhibitors ความเสี่ยงต่อโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือดหากใช้ติดต่อเป็นระยะเวลานาน

บรรณานุกรม

  แหล่งอ้างอิงข้อมูลเว็บไซต์                                                                                                          

1.
http://www.pharm.chula.ac.th/osotsala/otcproject/92.html
สืบค้นเมื่อ 27สิงหาคม พ..2554

2. http://www.google.co.th/imgres?q=junifen&hl=th&sa=G&gbv=2&tbm=isch&tbnid=OfsqSWoBzBu0qM:&imgrefurl=http://www.eurodrugstore.eu/painrelief__10__en/junifen__6456.html&docid=kDJK4RurELvQwM&w=760&h=599&ei=6eFYTuyvG8arrAeo16TXCg&zoom=1&iact=hc&vpx=626&vpy=135&dur=140&hovh=199&hovw=253&tx=99&ty=127&page=1&tbnh=137&tbnw=174&start=0&ndsp=10&ved=1t:429,r:8,s:0&biw=1093&bih=453
สืบค้นเมื่อ 27สิงหาคม พ..2554
3.
http://www.google.co.th/imgres?q=Nuprin&um=1&hl=th&sa=N&tbm=isch&tbnid=OfsqSWoBzBu0qM:&imgrefurl=http://www.eurodrugstore.eu/painrelief__10__en/nuprin__1605.html&docid=zJn8lZGp0B1wuM&w=760&h=599&ei=HOBYTu2PGpDirAfD1N2cCw&zoom=1&iact=hc&vpx=549&vpy=135&dur=687&hovh=199&hovw=253&tx=82&ty=166&page=1&tbnh=158&tbnw=200&start=0&ndsp=8&ved=1t:429,r:6,s:0&biw=1093&bih=453  สืบค้นเมื่อ 27สิงหาคม พ..2554
4.
http://www.google.co.th/imgres?q=Acetaminophen&um=1&hl=th&sa=G&tbm=isch&tbnid=51QSFDLiDoPIIM:&imgrefurl=http://www.osteoarthritisblog.com/tag/acetaminophen/&docid=44IOjsqIT7tpPM&w=1024&h=1006&ei=AuFYTpjHJcrqrAfA8YjLCg&zoom=1&iact=hc&vpx=593&vpy=75&dur=16&hovh=223&hovw=227&tx=105&ty=139&page=1&tbnh=156&tbnw=169&start=0&ndsp=8&ved=1t:429,r:2,s:0&biw=1093&bih=453 สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม พ..2554
5.
http://www.google.co.th/imgres?q=Synflex&hl=th&sa=G&biw=1093&bih=453&gbv=2&tbm=isch&tbnid=IlXckXYM83x6tM:&imgrefurl=http://pharm.kku.ac.th/thaiv/depart/clinic/DispensingPharmacy/muscle/NSAIDs.htm&docid=rDEVKUPuF0rsvM&w=400&h=300&ei=XeFYTuTaDoSrrAerrLGHCw&zoom=1&iact=rc&dur=391&page=1&tbnh=142&tbnw=204&start=0&ndsp=9&ved=1t:429,r:1,s:0&tx=80&ty=70 สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม พ..2554

  แหล่งอ้างอิงข้อมูลหนังสือ                                                                                                           

วารุณี เกียรติดุริยกุล. ฮอร์โมนเพศ:การประยุกต์ทางการเเพทย์(Reproductive Hormone:Application in Medicine Science). พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : ศุภวนิชการพิมพ์,2542.